วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ฝึกเบสิคพื้นฐาน

ท่าเตรียมพร้อม


ลักษณะของท่าเตรียมพร้อมที่ถูกต้อง (ตั้งแต่ระดับเอวขึ้นมา)
     1. สายตาจ้องมองลูกปิงปอง
     2. ก้มศรีษะเล็กน้อย
     3. ลำตัวโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
     4. มือข้างที่จับไม้ สูงกว่าข้อศอกของตนเอง
     5. มือข้างที่จับไม้ อยู่สูงกว่าโต๊ะเสมอ
     6. มือข้างอิสระ(ข้างที่ไม่ได้จับไม้ปิงปอง)  ยกขึ้นมาอยู่ระดับเดียวกับข้างที่จับไม้ เพื่อช่วยในการทรงตัวที่ดี
ลักษณะของท่าเตรียมพร้อมที่ถูกต้อง (ตั้งแต่ระดับเอวลงไป)
     1. ขาทั้งสองข้าง แยกออกจากกัน (มากกว่าความกว้างของหัวไหล่ของผู้เล่น)
     2. ย่อหัวเข่าเล็กน้อย
     3. ปล่อยน้ำหนักตัว ให้ลงไปอยู่ที่ปลายเท้าของผู้เล่น ( ห้ามให้น้ำหนักตัวตกไปอยู่ที่ส้นเท้า)
(http://www.welovepingpong.com)

เบสิคแบ๊คแฮนด์



จังหวะการตีลูก
เริ่มฝึกจากตีลูกจังหวะ C  ตามด้วยจังหวะ B และจังหวะ A ตามลำดับ  ขอย้ำนะครับว่า  จังหวะต่างๆ เหล่านี้ นักกีฬาจำเป็นต้องฝึกตีให้ได้ เพราะจะส่งผลถึงการเล่นที่ได้เปรียบกว่าการตีลูกได้เพียงจังหวะเดียว
ลักษณะสัมผัสของหน้าไม้กับลูกปิงปอง
     ให้หน้าไม้สัมผัสถูกลูก ในลักษณะตีเต็มลูก
เป้าหมายในการฝึก
     กำหนดเป็นจำนวนครั้งในการตีแต่ละลูก  โดยตีให้ได้โดยไม่เสียเอง  หากเสียเริ่มนับ 1 ใหม่  เช่นกัน
การถ่ายน้ำหนักตัว (สำคัญมาก)
สำหรับผู้เล่นมือขวา  
     1. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงไปด้านข้าง เพื่อเตรียมจะตีลูก   ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าซ้าย
     2. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงเข้าไปเพื่อตีลูกปิงปอง  ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าขวา
สำหรับผู้เล่นมือซ้าย -ให้ทำตรงกันข้าม
(http://www.welovepingpong.com)

เบสิคโฟร์แฮนด์

จังหวะการตีลูกปิงปอง
     สำหรับจังหวะการตีลูกปิงปองนั้น  ให้เริ่มต้นจากการฝึกตีจังหวะช้า (C) ก่อน เมื่อชำนาญแล้วจึงค่อยปรับไปตีจังหวะที่ลูกกระดอนสูงสุด(B) และเมื่อชำนาญตีลูกจังหวะนี้แล้ว  ก็ปรับให้ตีจังหวะเร็ว (A) ตามลำดับ  รวมถึงเมื่อนักกีฬาตีได้ทุกจังหวะแล้ว  ผู้ฝึกสอนสามารถสร้างแบบฝึกให้นักกีฬาตีลูกจังหวะต่างๆ สลับกันได้ เช่น จังหวะ A 1 ครั้ง จังหวะ C 1 ครับ สลับกันไปเรื่อยๆ ก็ได้  ฯลฯ
เป้าหมายการฝึก
     ให้กำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนครั้ง  โดยตีให้นานที่สุด โดยตีให้เสียเองยากที่สุด หากตีเสียให้เริ่มต้นใหม่   เช่น  ตีให้ได้ 100 ครั้ง , 150 ครั้ง , 200 ครั้ง ขึ้นไป

การถ่ายน้ำหนักตัว (สำคัญมาก)
สำหรับผู้เล่นมือขวา
     1. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงไปด้านข้าง เพื่อเตรียมจะตีลูก   ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าขวา
     2. ในจังหวะที่เหวี่ยงวงสวิงเข้าไปเพื่อตีลูกปิงปอง  ให้ถ่ายน้ำหนักตัวทั้งหมด ไปไว้ที่เท้าซ้าย
สำหรับผู้เล่นมือซ้าย ให้ทำตรงกันข้าม
(http://www.welovepingpong.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น